ตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 ให้มีคณะกรรมการสภาสถาปนิก ประกอบด้วย กรรมการซึ่งสมาชิกสามัญเลือกตั้งขึ้นจากสมาชิกสามัญ และมิได้ดำรงตำแหน่งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ระดับปริญญาจำนวน 10 คน กรรมการซึ่งสมาชิกสามัญเลือกตั้งขึ้นจากสมาชิกสามัญ และดำรงตำแหน่งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ระดับปริญญาจำนวน 5 คน กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจากสมาชิกสามัญ โดยการเสนอชื่อของรัฐมนตรี จำนวน 5 คน
สมาชิกสภาสถาปนิก มี 3 ประเภท
1. สมาชิกสามัญ
2. สมาชิกวิสามัญ
3. สมาชิกกิตติมศักดิ์
คุณสมบัติของสมาชิกสามัญ
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- มีสัญชาติไทย
- มีความมีความรู้ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมโดยได้รับปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในวิชาชีพสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สภาสถาปนิกรับรอง
- ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก
- ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก
คุณสมบัติสมาชิกวิสามัญ
- ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมและมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาสถาปนิก
คุณสมบัติสมาชิกกิตติมศักดิ์
- ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งที่ประชุมใหญ่สภาสถาปนิกแต่งตั้ง
สมาชิกสภาสถาปนิก มี 3 ประเภท
1. สมาชิกสามัญ
2. สมาชิกวิสามัญ
3. สมาชิกกิตติมศักดิ์
คุณสมบัติของสมาชิกสามัญ
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- มีสัญชาติไทย
- มีความมีความรู้ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมโดยได้รับปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในวิชาชีพสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สภาสถาปนิกรับรอง
- ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก
- ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก
คุณสมบัติสมาชิกวิสามัญ
- ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมและมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาสถาปนิก
คุณสมบัติสมาชิกกิตติมศักดิ์
- ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งที่ประชุมใหญ่สภาสถาปนิกแต่งตั้ง
กรอบอำนาจและหน้าที่ของสภาสถาปนิก
- ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
- พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
- รับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
- รับรองความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
- เสนอแนะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดและการเลิกสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรม
- ออกข้อบังคับสภาสถาปนิก
- ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก
วัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก
- ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
- ส่งเสริมความสามัคคีและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสมาชิก
- ส่งเสริมสวัสดิภาพและผดุงเกียรติของสมาชิก
- ควบคุมความประพฤติ และดำเนินงานของประกอบวิชาชีพ ฯ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งชาชีพสถาปัตยกรรม
- ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้บริการทางานวิชาการต่างๆ แก่ประชาชน และองค์การอื่น ที่เกี่ยวกับวิทยาการและเทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรม
- ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบาย และปัญหาด้านสถาปัตยกรรม รวมทั้งานเทคโนโลยี
- เป็นตัวแทนของประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศไทย
- ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นโยบายสภาสถาปนิก- จะดำเนินการบริหารกิจการให้เป็นไปตามกรอบแห่งวัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก เพื่อความเป็นระเบียบ ถูกต้อง มีมาตรฐานแห่งการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ของมวลสมาชิก ทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล เพื่อเกิดประโยชน์ต่อสังคม
- จะเป็นแหล่งกลางให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา บริการทางวิชาการเทคโนโลยี แก่องค์กรภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมควบคุมที่ยั่งยืน
- จะเผยแพร่ ชี้นำ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมต่อสาธารณชน อันเป็นการส่งเสริม ผดุงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของวิชาชีพและสถาปนิก
- จะทำการสอดส่องดูแลความประพฤติ และมาตรฐานคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ตรงไปตรงมา โดยมีข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นหลัก ด้วยความยุติธรรมและความเสมอภาค
- จะดำเนินการประสานงานกับหน่วยราชการ และสถาบันการศึกษา เพื่อเร่งพัฒนาช่างฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้องให้ตามทันกับการปฏิบัติวิชาชีพ
- จะกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ สำนักงานสภาสถาปนิกให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
- จะใช้ทรัพยากรการเงิน บุคคล อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สูงสุด
- จะดำเนินการบริหารกิจการให้เป็นไปตามกรอบแห่งวัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก เพื่อความเป็นระเบียบ ถูกต้อง มีมาตรฐานแห่งการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ของมวลสมาชิก ทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล เพื่อเกิดประโยชน์ต่อสังคม