โครงสร้าง-แผนผังองค์กร

อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 1. มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และให้มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้ 1.1 รับผิดชอบงานธุรการของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 1.2 ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 1.3 เผยแพร่วิชาการและให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับสิทธิที่จะร้องเรียน ตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ.2542 1.4 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามอบหมาย 2. เสนองบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี หรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจนำความเห็นเกี่ยวกับ การจัดสรรงบประมาณ ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภารวมไว้ในรายงาน การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 3. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจในการปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 4. จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชี แล้วส่งผู้สอบบัญชีภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันสิ้นปีบัญชีอำนาจบังคับในการปฎิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา1. อำนาจบังคับในขั้นตอนการพิจารณา 1.1 ให้หัวหน้าหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หรือบุคคลใดมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ถ้อยคำ หรือส่งวัตถุ เอกสาร หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยว เพื่อประกอบ การพิจารณา ซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 1.2 การตรวจสถานที่ที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีการร้องเรียนต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ทราบล่วงหน้าในเวลาอันควร ซึ่งผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ2. อำนาจบังคับหน่วยงานให้ทำตามคำวินิจฉัย 2.1 ไม่มีอำนาจสั่งการฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.2 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในเวลาอันสมควร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา อาจส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่ควบคุมกำกับดูแลเพื่อสั่งการตามควรแก่กรณีได้ 2.3 ในกรณีที่ส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้ ยังคงไม่ปฏิบัติตาม ข้อเสนอแนะข้างต้นในเวลาอันสมควรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และเป็นเรื่องที่สำคัญ หรือเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา อาจทำรายงานเรื่องนั้นเสนอต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องด่วนได้ 2.4 รายงานดังกล่าวต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบตามวิธีการที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภากำหนด
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์“มุ่งมั่นรักษาความเป็นธรรม ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาครัฐ และสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”
ภารกิจ / วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
พันธกิจพันธกิจที่ 1. พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรม พันธกิจที่ 2. เผยแพร่วิชาการและให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับสิทธิที่จะร้องเรียนและสร้างเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาครัฐ พันธกิจที่ 3. ศึกษา วิจัย และวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐสภา พันธกิจที่ 4. ดำเนินงานให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีประมวล จริยธรรมที่มีมาตรฐาน และกลไกและระบบในการดำเนินงาน เพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติงาน พันธกิจที่ 5. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ พันธกิจที่ 6. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาครัฐ พันธกิจที่ 7. พัฒนาองค์กรให้มีระบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างบุคลากรให้มี ศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
โครงการต่างๆ / แผนการดำเนินงาน
ผู้ประสานงาน
ปรับปรุงล่าสุด
13/12/2554 | 11:45
รายชื่อผู้บริหาร
ลำดับที่ | ชื่อผู้บริหาร | ตำแหน่ง | โทรศัพท์ | โทรสาร |
---|---|---|---|---|
01 | นายปราโมทย์ โชติมงคล | ผู้ตรวจการแผ่นดิน |