ความเป็นมา

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่รองรับ “สิทธิได้รู้” (right to know) หรือสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐของประชาชน จึงได้มีการกำหนดเป็นมาตรการเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องมีการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้ประชาชนได้รู้โดยต้องดำเนินการใน 3 สิทธิหรือ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. สิทธิได้รู้ตามมาตรา 7

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยการนำข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กำหนดไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา โดยประเภทของข้อมูลข่าวสารที่ต้องนำลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ประกอบด้วย

(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน

(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน

(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคาแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ

(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือ การตีความ ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้น โดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง

(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด

2. สิทธิตรวจดูตามมาตรา 9

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องนำข้อมูลข่าวสารตามที่กฎหมายกำหนดไปรวมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร โดยข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรวบรวมไว้ให้ประชาชนเข้า ตรวจดู ได้แก่

(1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคาสั่ง ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว

(2) นโยบายและการตีความ

(3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ

(4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิ หน้าที่ของเอกชน

(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างถึงในราชกิจจานุเบกษา

(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ

(7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อ รายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมา ใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย

(8) ข้อมูลข่าวสารอื่น ตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด ได้แก่ ประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคา และสรุปผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรายเดือนทุกๆ เดือน

3. สิทธิขอดูตามมาตรา 11

การเปิดเผยหรือการจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการ ให้กับประชาชนที่มายื่นคำขอเป็นการเฉพาะราย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเรื่องใดก็ตาม นั่นคือ นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าแล้ว พระราชบัญญัติได้มีการกาหนดเป็นหลักปฏิบัติไว้ว่า ถ้ามีผู้มาขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการ และคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตาม ควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอในเวลาอัน สมควร

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์

จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เช่น โครงสร้างและการจัดองค์กรของกระทรวงอุตสาหกรรม แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน ซึ่งประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้เองอย่างสะดวก

          สามารถขอตรวจดูข้อมูลข่าวสาร ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ อาคารสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ (ชั้นที่ 1)  เลขที่ 794 หมู่ 7 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์ 32000 เปิดทำการเวลา 08.30 – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการ) โทรศัพท์ : 0 4451 1980 ต่อ 15 โทรสาร : 0 4451 4720 Email: moi_surin@industry.go.th

------------------------------------------------------------------------------------